คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

รหัส              คำอธิบายรายวิชา                                     น(ท-ป-ศ)

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร                         12      หน่วยกิต

 GED1001                  สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า             3(3-0-6)

Information Study Skill

ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ทักษะการรับรู้สารสนเทศ การสืบค้น การรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศเพื่อนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิงจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ ตลอดจนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

GED1002                  ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร                     3(3-0-6)

Thai for Communication

ศึกษาภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์  ทั้งหลักการทฤษฎีและการปฏิบัติ การฟัง การพูด  การอ่านและการเขียน  ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์จากการอ่าน  การฟังสารต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้ตามขั้นตอนและรูปแบบของการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูด

GED1003                 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน                          3(3-0-6)

English Basics

พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน สามารถฟังและเข้าใจข้อความหรือบทสนทนาได้ โดยใช้กลยุทธ์การฟังที่เหมาะสม เน้นความสามารถในการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสาร สามารถพูดบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนและใช้ภาษาอังกฤษในการเล่าเรื่อง และอธิบายเรื่องราวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถอ่านและวิเคราะห์โครงสร้างประโยคที่ซับซ้อนได้ สามารถใช้กลยุทธ์การอ่านที่เหมาะสมในการทำความเข้าใจเนื้อเรื่องและการสรุปใจความสำคัญ สามารถเขียนข้อความสั้นๆและสามารถใช้พจนานุกรมประกอบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

GED1004                 ภาษาอังกฤษเพื่อการประยุกต์ใช้             3(3-0-6)

English for Application

เรียนรู้กลวิธีในการใช้ทักษะทั้ง 4 ด้านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการเรียนรู้วิชาการในศาสตร์ของตน การสมัครงานและการทำงานในองค์การ ด้านการอ่านเน้นการสรุปความ การวิเคราะห์และตีความจากสิ่งที่อ่าน ด้านการเขียนเน้นการเขียนความเรียงทางวิชาการ โดยใช้ข้อมูลจากการค้นคว้าจากแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ด้านการฟังเน้นการสรุปความ และแปลความหมายจากสิ่งที่ได้รับฟัง ด้านการพูดเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสาขาวิชาและการพูดโดยฉับพลันในชีวิตประจำวันได้

กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์     6  หน่วยกิต

GED2001                 พุทธทาสศึกษา                                3(3-0-6)

Buddhadasa Studies

ศึกษาคำสอน วิธีคิด และกระบวนการเรียนรู้ของท่านพุทธทาส ปณิธาน 3 ประการในการให้ศาสนิกชนเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งซึ่งเป็นที่สุดแห่งศาสนาของตน การทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา การนำเพื่อนมนุษย์ให้ออกเสียจากวัตถุนิยม การประยุกต์คำสอน และวิธีปฏิบัติตามทางของท่านพุทธทาสสู่การดำรงชีวิตที่สมถะ เรียบง่าย และพอเพียง

GED2002                 ปรัชญากับชีวิต                                3(3-0-6)

Philosophy and Life

แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาและกลุ่มลัทธิปรัชญา แนวทางในการดำเนินชีวิตและทำงานตามแนวปรัชญาและศาสนา โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้การบูรณาการทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

GED2003                 การพัฒนาตน                                 3(3-0-6)

Self Development

พฤติกรรมมนุษย์ สาเหตุปัจจัยแห่งพฤติกรรม  ทฤษฎีทางจิตวิทยาเพื่อการวิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์ตนเองเพื่อการพัฒนาตนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและทักษะชีวิต การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การแก้ปัญหาภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนรวม การประเมินผลการพัฒนาตนเองเพื่อตนเองเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

GED2004                 สุนทรียศาสตร์                                3(3-0-6)

Aesthetics

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคุณค่า และความงามท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม การรับรู้คุณค่าและการสัมผัสความงามและการแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์ รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าและความงามในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ เช่น ความงามในด้านศิลปะดนตรี นาฏศิลป์ตลอดจนความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์    6  หน่วยกิต

GED3001                  วิถีโลก                                         3(3-0-6)

Global Society and Living

การดำรงอยู่ของมนุษย์ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก สถานการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโลกที่ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกและประเทศไทย การปรับตัวของประเทศไทยในการเป็นประชาคมโลกและประชาคมอาเซียน

GED3002                 วิถีไทย                                         3(3-0-6)

Thai Living

โครงสร้างและวิวัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมไทย การรักษาเสถียรภาพเอกลักษณ์ของสังคมไทย ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งในสังคม การรับรู้สิทธิหน้าที่ของพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

GED3003                 กฎหมายกับสังคม                             3(3-0-6)

Law and Society

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ชีวิตและสังคม สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลตามกฎหมาย พื้นฐานความรับผิดในทางแพ่งและในทางอาญา กระบวนการยุติธรรมของไทยตามประมวลกฎหมาย และวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและสังคม เช่น กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน เป็นต้น

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     9  หน่วยกิต

GED4001                 วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต                          3(3-0-6)

Science for Quality of Life

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาสาเหตุ ผลกระทบ แนวทางการแก้ไขสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลตนเองตามสุขอนามัย ทั้งสุขภาพ และสุขภาพจิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสภาพแวดล้อม สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

GED4002                 การคิดและการตัดสินใจ                                3(3-0-6)

Thinking and Decision Making

หลักการ คุณค่าของการคิด ที่มาและธรรมชาติของการคิด การพัฒนาทักษะการคิดแบบต่างๆ เช่น การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้เหตุผล การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น เทคนิควิธีและเครื่องมือในการคิดและการตัดสินใจ การสื่อสารความคิดสู่บุคคลอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ

GED4003                 คอมพิวเตอร์กับชีวิต                                    3(2-2-5)

Computer and Life

บทบาท ความสำคัญของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตและสังคม ปฏิบัติการและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการแสวงหาความรู้และสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สารสนเทศ โดยคำนึงถึงจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน

 กลุ่มวิชาบังคับ       48      หน่วยกิต

CUL0101        พื้นฐานทางวัฒนธรรม                                  3(3-0-6)

Cultural Fundamental

ความหมาย ความสำคัญ ลักษณะของวัฒนธรรม วัฒนธรรมกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฏีทางวัฒนธรรม อาศัยระบบของวัฒนธรรม และเเง่มุมอื่นๆของวัฒนธรรม เพื่อเป็นฐานสำหรับเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม และพื้นฐานวัฒนธรรมไทย

CUL0102         พลวัตทางสังคมและวัฒนธรรม                         3(3-0-6)

Social and Cultural Dynamic

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม ศึกษาปัจจัย ประเภท รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง ลักษณะต่างๆของสังคมและวัฒนธรรม ระบบความเชื่อของสังคมไทย รวมถึงศึกษาวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองการปกครองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

CUL0103        มานุษยวิทยาวัฒนธรรม                                3(3-0-6)

Cultural Anthropology

แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาและขอบข่ายของมานุษยวิทยาวัฒนธรรม วิวัฒนาการของมนุษย์เกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม วิวัฒนาการของระบบความเชื่อและศาสนา      อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหมาย ความสำคัญของสถาบันทางสังคม ศึกษาพฤติกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของมนุษย์ในเชิงมานุษยวิทยา

CUL0104        การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่น               3(2-2-5)

Local Resource Cultural Management

แนวคิด ทฤษฎี ประเภท ลักษณะ และกระบวนการจัดการเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในท้องถิ่น รวมถึงสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์กระบวนการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคม และมูลค่าทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น

CUL0105        เทคโนโลยีการจัดการทางวัฒนธรรม 1                3(2-2-5)

Cultural Management Technology 1

ความหมาย ความเป็นมา บทบาท ความสำคัญ ประเภท ช่องทางการนำเสนอ ของเทคโนโลยีเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม หลักการ กระบวนการผลิตสื่อทางวัฒนธรรม  หลักและทฤษฎีการออกแบบ การใช้เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการออกแบบและผลิตสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้งานอุปกรณ์ถ่ายภาพและวีดิทัศน์เบื้องต้น

CUL0106        เทคโนโลยีการจัดการทางวัฒนธรรม 2                3(2-2-5)

Cultural Management Technology 2

ฝึกปฏิบัติการออกแบบและผลิตสื่อทางวัฒนธรรมด้วยคอมพิวเตอร์  การเตรียมต้นฉบับสิ่งพิมพ์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อโสตทัศน์ทางวัฒนธรรม  การประยุกต์ใช้งานออกแบบเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางการนำเสนอต่างๆ

CUL0107        กฎหมายและจริยธรรมกับการจัดการทางวัฒนธรรม  3(3-0-6)

Law and Moral in Cultural Management

กฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและปกป้องคุ้มครองทรัพยากรทางวัฒนธรรม การใช้กรอบทางจริยธรรมและกฎหมายในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้กฎหมายและจริยธรรมในการจัดการทางวัฒนธรรม

CUL0108         การจัดการแสดงทางวัฒนธรรม                        3(2-2-5)

Cultural Performing Management

แนวคิด ทฤษฎี ความหมาย หลักการ กระบวนการ ประเภทของการจัดการแสดงทางวัฒนธรรม บูรณาการแนวคิด ทฤษฎี ความรู้ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฝึกปฏิบัติการจัดการแสดงทางวัฒนธรรมอย่างเป็นแบบแผน เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม

CUL0109        วัฒนธรรมเปรียบเทียบ                                 3(3-0-6)

Cultural Comparison

รูปแบบ วิธีคิด กระบวนการ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในภูมิภาคต่างๆโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง รวมทั้งศึกษาลักษณะร่วมของวัฒนธรรมแต่ละสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ศึกษาปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และบริบททางสังคมที่หล่อหลอมให้เกิดวัฒนธรรมของท้องถิ่น

CUL0110        ภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม            3(3-0-6)

English for Cultural Management

ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ การติดต่อสื่อสารข้อมูลทางด้านการจัดการทางวัฒนธรรม โดยประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางวัฒนธรรมได้อย่างเป็นสากล

CUL0111        การจัดการความรู้ทางวัฒนธรรม                       3(2-2-5)

Cultural Knowledge Management

แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการแสวงหาความรู้เพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม ฝึกทักษะการจัดการความรู้ เพื่อสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่หลากหลายในชุมชนมาใช้เป็นประโยชน์ในการจัดการทางวัฒนธรรม เพื่อปกป้องรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม สืบทอด และพัฒนาทรัพยากรวัฒนธรรมในท้องถิ่น

CUL0112        ภูมิปัญญาพื้นบ้านกับการพัฒนา                       3(2-2-5)

Local Wisdom and Development

แนวคิด หลักการ กระบวนการ ความสำคัญของการศึกษาเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเฉพาะภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้ที่ต้องอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู และพัฒนา ตลอดจนศึกษาวิวัฒนาการ กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการถ่ายทอด การพัฒนาภูมิปัญญาด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อศาสนา ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม การละเล่นพื้นบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการเพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ

CUL0113        การจัดการองค์กรและเครือข่ายทางวัฒนธรรม        3(2-2-5)

Organization and Cultural Network Management

แนวคิด ทฤษฎี ขอบเขต และปัจจัยอันเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และองค์กร หน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม ความรู้เกี่ยวกับองค์กรทางวัฒนธรรมและเครือข่าย ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ สามารถบูรณาการความรู้เกี่ยวกับการจัดการองค์กร

CUL0114         การจัดการธุรกิจวัฒนธรรม                            3(2-2-5)

Culture Business Management

แนวคิด ทฤษฎี หลักการ นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจบนฐานทุนทางวัฒนธรรม กระบวนการนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ บูรณาการทฤษฎี แนวคิด หลักการ กระบวนการเพื่อการจัดการทุนทางวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งฝึกปฏิบัติภาคสนามโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการธุรกิจวัฒนธรรมในท้องถิ่น

CUL0115        การวิจัยเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม                 3(2-2-5)

Research for Cultural Management

แนวคิด ทฤษฎี ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ การเขียนโครงร่างวิจัยทางวัฒนธรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการวิจัย รวมทั้งการนำเสนอผลการวิจัย

CUL0116        สัมมนาการจัดการทางวัฒนธรรม                      3(2-2-5)

Seminar in Cultural Management

แนวคิด หลักการ กระบวนการจัดการสัมมนา สร้างกระบวนการเข้าถึงประเด็นปัญหาทางวัฒนธรรมและหาแนวทางการจัดการอย่างเหมาะสม ฝึกปฏิบัติการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เพื่อสร้างองค์ความรู้ แสวงหาแนวทางการจัดการวัฒนธรรมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาทางวัฒนธรรม

กลุ่มวิชาเลือก      30      หน่วยกิต

CUL0201        ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม                                   3(2-2-5)

Cultural Geography

องค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อลักษณะทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดรูปแบบของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ศึกษาการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ระดับความก้าวหน้าทางวิทยาการ รูปแบบการใช้ที่ดิน และลักษณะความแตกต่างด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและศึกษาภาคสนาม

CUL0202        การเขียนเพื่อการเผยแพร่งานทางวัฒนธรรม      3(2-2-5)

Writing for Cultural Publicity

หลักการ ศิลปะการใช้ภาษา เทคนิคการเขียน รูปแบบ ประเภทของงานเขียนทางวัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติการเขียนแบบต่างๆ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการนำแนวคิด ทฤษฎี ประสบการณ์ทางวัฒนธรรม และสามารถเขียน เผยแพร่ในรูปแบบสื่อต่างๆ

CUL0203        วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว                            3(2-2-5)

Culture and Tourism

ความหมาย ความสำคัญ ประเภท ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บูรณาการความรู้ เพื่อศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่น หลักการอนุรักษ์ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กระบวนการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมจากการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

CUL0204        ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น                                  3(2-2-5)

Local History

ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ข้อมูลของชุมชนที่เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ภูมิปัญญา อิทธิพลของ     อารยธรรม และวัฒนธรรมต่างๆที่มีผลต่อท้องถิ่น โดยใช้กรณีศึกษาที่เหมาะสม

CUL0205        การจัดการพิพิธภัณฑ์                                   3(2-2-5)

Museum Management

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการพิพิธภัณฑ์ ศึกษาความหมาย ประเภท ลักษณะของพิพิธภัณฑ์ ศึกษาหลักการและแนวคิดเบื้องต้นในการจัดแสดงนิทรรศการ การอนุรักษ์วัตถุในพิพิธภัณฑ์ และสามารถใช้ความรู้ด้านประชาสัมพันธ์และการตลาดมาบูรณาการฝึกปฏิบัติภาคสนามอย่างเป็นรูปธรรม

CUL0206        การจัดการความขัดแย้งทางวัฒนธรรม                3(3-0-6)

Cultural Conciliation Management

ความหมาย แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง ประเภทของความขัดแย้ง วัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมรอง และความหลากหลายของวิถีชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม ศึกษาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมและ เครื่องมือจัดการความขัดแย้งทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ ศึกษากรณีศึกษาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม และการจัดการความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

CUL0207        การประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม                      3(2-2-5)

Cultural Public Relation

แนวคิด หลักการประชาสัมพันธ์ การประยุกต์ใช้กับการจัดการทางวัฒนธรรม และการประยุกต์การประชาสัมพันธ์องค์กรทางวัฒนธรรม การใช้สื่อและการจัดการกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์งานทางวัฒนธรรม การวางแผนกลยุทธ์และเทคนิคการเลือกสื่อที่เหมาะสม การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายทางการประชาสัมพันธ์การรณรงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ และการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม

CUL0208        ระบบความเชื่อกับสังคมไทย                          3(3-0-6)

Belief in Thai Culture

ระบบความเชื่อ และคุณค่าของระบบความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม วัฒนธรรม และรูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมไทย ตั้งแต่ความเชื่อพื้นฐานในสังคมไทย 3 ความเชื่อคือ ความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อในพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องผี ตลอดจนความเชื่อในยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมในนโยบายรัฐนิยม จนถึงความเชื่อในยุคบริโภคนิยม เพื่อให้เห็นถึงอิทธิพลของความเชื่อนั้นๆ ที่มีต่อสังคมไทย

CUL0209        ศิลปะการถ่ายภาพทางวัฒนธรรม                      3(2-2-5)

Photography for Culture

เทคโนโลยีในการถ่ายภาพเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวัฒนธรรม ประเภทของกล้องถ่ายภาพ ประเภทของภาพถ่ายทางวัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติการทักษะขั้นสูงในการใช้กล้องถ่ายภาพโดยการควบคุมความไวชัทเตอร์ รูรับแสง และความยาวโฟกัส เพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสม  ฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวัฒนธรรม

CUL0210        เอเชียศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว                                    3(3-0-6)

Asia Studies for Tourism

ศึกษาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปกรรม วัฒนธรรม ประเพณี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี อาหาร ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศในภูมิภาคเอเชีย สามารถบูรณาการความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ปัจจัยทางวัฒนธรรม และภูมิศาสตร์มาเป็นแนวทางในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

CUL0211        ศิลปะการออกแบบการแต่งกายเพื่องานวัฒนธรรม    3(2-2-5)

Costume Design for Cultural Management

ประวัติเครื่องแต่งกายในสมัยต่างๆ เช่น ผ้าพื้นเมือง ผ้านำเข้าจากต่างประเทศ วัสดุอุปกรณ์ในการทำเครื่องประดับ และการศึกษาองค์ประกอบของการออกแบบการแต่งกาย รวมถึงการฝึกปฏิบัติตามความเหมาะสม

CUL0212        วิธีการศึกษาทางวัฒนธรรม                            3(2-2-5)

Cultural Method

ความหมาย ขั้นตอนของวิธีการศึกษาทางวัฒนธรรม บทบาทและรูปแบบกระบวนการศึกษาวัฒนธรรมในชุมชนทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคประชาชน วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการศึกษาทางวัฒนธรรม ตลอดจนค้นหารูปแบบ กระบวนการ และเทคนิคการศึกษาวัฒนธรรมที่เหมาะสม โดยใช้กรณีศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำรายงานและบทความทางวิชาการ โดยศึกษาจากกรณีตัวอย่าง

CUL0213        เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์กับการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรม   3(2-2-5)

Technological Geography for Cultural Data Collecting

ความหมาย ความสำคัญ ประเภท และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรม ความรู้เบื้องต้น องค์ประกอบ ลักษณะ โครงสร้าง ระบบการจัดการฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ในการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมโดยการฝึกปฏิบัติภาคสนาม

CUL0214        กลยุทธ์การตลาดธุรกิจทางวัฒนธรรม                  3(3-0-6)

Marketing Strategy for Cultural Business

ลักษณะและประเภทของธุรกิจวัฒนธรรม ส่วนประสมการตลาดสำหรับธุรกิจวัฒนธรรม การกำหนดกลยุทธ์การตลาดธุรกิจวัฒนธรรม การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน พฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด การเลือกกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์และราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย บทบาทและความสำคัญของธุรกิจวัฒนธรรม การสร้างจิตสำนึกในจริยธรรมต่อการดำเนินธุรกิจด้านวัฒนธรรม

CUL0215        การจัดการโครงการทางวัฒนธรรม                    3(2-2-5)

Cultural Project Management

แนวคิด ความหมาย หลักการ ความสำคัญ รูปแบบ กระบวนการจัดการโครงการ การวางแผน และบริหารโครงการ ฝึกปฏิบัติการดำเนินโครงการโดยการบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี หลักการและกระบวนการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการวางแผนการจัดกิจกรรมโครงการทางวัฒนธรรม อาทิ กิจกรรมค่ายวัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติจัดกิจกรรมค่ายวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่น สรุป ประเมินการจัดกิจกรรม นำเสนอการจัดกิจกรรมโดยสื่อเทคโนโลยี

CUL0216          วัฒนธรรมอาเซียน                                       3(3-0-6)

ASEAN Culture

ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และสภาพแวดล้อมทางสังคมของประชาคมอาเซียน  รูปแบบวิถีการดำเนินชีวิต  และปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของประเทศในภูมิภาคในมิติทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง

CUL0217        ภาษาจีนเบื้องต้นเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม       3(3-0-6)

Chinese Basics in Cultural Management

ภาษาจีนเบื้องต้น เพื่อให้มีทักษะการพูด อ่าน เขียน เรียนรู้คำศัพท์ และประโยคสนทนาอย่างง่าย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านการจัดการทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์ หรือสหกิจศึกษา กำหนดให้เลือกเรียน  7  หน่วยกิต

CUL0118        เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพการจัดการทางวัฒนธรรม       2 (90)

Pre-Field Experience in Cultural Management

จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมของนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อเตรียมพร้อมในด้านมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร การเรียนรู้โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร ทักษะอุปกรณ์สำนักงาน เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม

CUL0119        การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการจัดการทางวัฒนธรรม          5 (490)

Field Experience in Cultural Management

จัดให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงในด้านวัฒนธรรมในองค์กรทางวัฒนธรรม เพื่อให้ได้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และประสบการณ์ในอาชีพ และนำผลที่ได้จากการฝึกงานมาวิเคราะห์ สรุป นำเสนอในรูปแบบสารนิพนธ์ ในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กรณีที่ไม่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพแทน

CUL0120       เตรียมสหกิจศึกษาการจัดการทางวัฒนธรรม          1 (30)

Pre-Cooperative  Education in Cultural Management

ปฐมนิเทศเพื่อให้ความรู้ เตรียมความพร้อมและบุคลิกภาพเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

CUL0121        สหกิจศึกษาการจัดการทางวัฒนธรรม                 6(560)

Co-operative Education in  Cultural Management

การปฏิบัติงานจริงในธุรกิจประเภทต่างๆทั้งภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจหรือรัฐบาลที่มีการใช้ภาษาไทยโดยการปฏิบัติงานและการทำรายงานจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บริหารแต่ละสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา และภายหลังการเสร็จสิ้นจากการฝึกแล้วจัดให้มีการอภิปราย วิเคราะห์และสรุปผลการฝึกสหกิจศึกษาเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษาหรือไม่น้อยกว่า560 ชั่วโมง